วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

วัฒนธรรมและพิธีกรรม


วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม

วัฒนธรรมภาคใต้

        ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยเฉพาะในวันแรม 1ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก
วัฒนธรรมภาคกลาง

     คนไทยมีความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีสางเทวดา ชีวิตประจำวันที่ผูกพันอยู่กับอาชีพชาวนา ชาวนาจึงเชื่อว่าในข้าวมีวิญญาณแม่โพสพ ซึ่งมีบุญคุณต่อชาวนาสิงอยู่จึงมีการปฏิบัติพิธีกรรมเพื่อระลึกถึงแม่โพสพ เช่น การสร้างศาลเพียงตาในทุ่งนา เรียกว่า “เรือนแม่โพสพ” มีการทำขวัญข้าวเมื่อข้าวเริ่มออก รวงหรือที่เรียกว่า”ข้าวตั้งท้อง” และนำข้าวอ่อนไปทำบุญถวายพระประเพณีสารทเดือนสิบ ซึ่งมีการกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนจะนำข้าวเก็บยุ้งฉางจะมีพิธีบอกกล่าวแม่โพสพ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณต่อชีวิตมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องโดยมีคำเรียกช่วงเวลาในสมัยโบราณเมื่อข้าวตั้งท้องว่า “ตะวันอ้อมข้าว” แสดงให้เห็นความสำคัญของข้าวว่าเมื่อตั้งท้องแม้แต่พระอาทิตย์ยังต้องอ้อมข้าวเหมือนที่การปฏิบัติกันจนทุกวันนี้ คือ ไม่เหยียบข้าว ไม่ทิ้งข้าว เพราะถือว่าเป็นบาปกรรม

วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
img75.gif
         ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า “บุญเดือนหก” มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ “พระยาแถน” สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี
วัฒนธรรมภาคเหนือ
img05         ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบผู้คนจะกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่มมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรืออาจเรียกว่า “กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่และเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งสำเนียงการพูดการขับร้อง ฟ้อนรำหรือการจัดงานฉลองสถานที่สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง


1 ความคิดเห็น:

  1. ได้รับความรู้หลายอย่างของวัฒนธรรมเเต่ละภาค

    ตอบลบ