วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

วีดีโอศิลปวัฒนธรรมไทย

คุณค่าของวัฒนธรรมไทย


คุณค่าของวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้คุณค่าของวัฒนธรรมไทยสามารถจำแนกได้ ดังนี้

1.วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย ที่คนไทยทุกคนควรภาคภูมิใจวัฒนธรรมไทยมีความโดดเด่นและแสดงออกถึงความเป็นชาติไทยได้อย่างชัดเจน ดังนี้
  1. ภาษาไทย มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น คือ มีสระ มีวรรณยุกต์
  2. อาหารไทย มีหลายรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น เผ็ด เปรี้ยว เค็ม มีรสอร่อยถูกปากคนไทยและคนต่างชาติและยังมีการจัดตกแต่งแกะสลักสวยงามนอกจากนี้เครื่องปรุงส่วนใหญ่จะเป็นพืสมุนไพรต่างๆ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้และใบมะกรูด เป็นต้น
  3. การแต่งกาย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์มีความสวยงาม เช่น ชุดไทยจักรี ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ยังมีการแต่งกายประจำท้องถิ่นของภาคต่างๆอีกด้วย
2. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม โดยวัฒนธรรมจะเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่กำหนดแนวทางความประพฤติของคนในสังคม ประกอบด้วยวิถีชาวบ้านจารีตประเพณีและกฎหมาย

3. วัฒนธรรมไทยทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพให้กับคนไทย เพราะวัฒนธรรมไทยประกอบด้วยความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติและความดีงามเหมาะกับสังคมไทยเป็นเครื่องกล่อมเกลาให้คนไทยมีพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพที่ดีงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น กิริยามารยาทที่สุภาพอ่อนโยนมีความอ่อนน้อมถ่อมตนและมีความใจดีมีเมตตา เป็นต้น

4. วัฒนธรรมไทยก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมไทยทำให้คนไทยมีความรู้สึกผูกพันสามารถพึ่งพาอาศัยกันและกันได้มีจิตสำนึกถึงความเป็นพวกเดียวกันมีปณิธานร่วมกันที่จะสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่และพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง

5. วัฒนธรรมไทยทำให้เศรษฐกิจของชาติสามารถพึ่งพาตนเองได้ การคิดค้นประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ของไทยในปัจจุบันได้พยายามรณรงค์ให้สร้างสรรค์และพัฒนามาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย โดยสามารถนำไปพัฒนาเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้ท้องถิ่นและประเทศชาติเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ประเทศไทยในปัจจุบันยังยึดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ด้วยจึงทำให้สังคมไทยมีความมั่นคงและพอเพียงทางเศรษฐกิจสามารถพึ่งพาตนเองได้

             จะเห็นว่าประเพณีและวัฒนธรรมไทยมีความสำคัญและมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมไทย สมควรที่คนไทยจะต้องตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าดังกล่าว โดยร่วมกันสืบสานจรรโลกประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยให้คงอยู่กับสังคมไทยสืบไป

การอนุรักษ์วัฒนธรรม



การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทความการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย


การอนุรักษ์วัฒธรรมไทยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้ 


1. ศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต เพื่อให้เห็นคุณค่า ทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป

2. ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม

3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม

4. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน

5. สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน

6. จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ สามารถเลือกสรร ตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย

วัฒนธรรมและพิธีกรรม


วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม

วัฒนธรรมภาคใต้

        ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยเฉพาะในวันแรม 1ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก
วัฒนธรรมภาคกลาง

     คนไทยมีความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีสางเทวดา ชีวิตประจำวันที่ผูกพันอยู่กับอาชีพชาวนา ชาวนาจึงเชื่อว่าในข้าวมีวิญญาณแม่โพสพ ซึ่งมีบุญคุณต่อชาวนาสิงอยู่จึงมีการปฏิบัติพิธีกรรมเพื่อระลึกถึงแม่โพสพ เช่น การสร้างศาลเพียงตาในทุ่งนา เรียกว่า “เรือนแม่โพสพ” มีการทำขวัญข้าวเมื่อข้าวเริ่มออก รวงหรือที่เรียกว่า”ข้าวตั้งท้อง” และนำข้าวอ่อนไปทำบุญถวายพระประเพณีสารทเดือนสิบ ซึ่งมีการกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนจะนำข้าวเก็บยุ้งฉางจะมีพิธีบอกกล่าวแม่โพสพ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณต่อชีวิตมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องโดยมีคำเรียกช่วงเวลาในสมัยโบราณเมื่อข้าวตั้งท้องว่า “ตะวันอ้อมข้าว” แสดงให้เห็นความสำคัญของข้าวว่าเมื่อตั้งท้องแม้แต่พระอาทิตย์ยังต้องอ้อมข้าวเหมือนที่การปฏิบัติกันจนทุกวันนี้ คือ ไม่เหยียบข้าว ไม่ทิ้งข้าว เพราะถือว่าเป็นบาปกรรม

วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
img75.gif
         ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า “บุญเดือนหก” มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ “พระยาแถน” สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี
วัฒนธรรมภาคเหนือ
img05         ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบผู้คนจะกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่มมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรืออาจเรียกว่า “กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่และเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งสำเนียงการพูดการขับร้อง ฟ้อนรำหรือการจัดงานฉลองสถานที่สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง


วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น


บทความ เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น



สภาพการณ์ปัจจุบันของศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

             สภาพการณ์ปัจจุบัน ของภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนมากโดยรวมแล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับทางด้านการทำมาหากิน ซึ่งเป็นจำพวกของที่ประดิษฐ์ขึ้นเองซึ่งมาจากความคิดของชาวบ้าน เป็นการสืบเนื่องจากชุมชน ต.หนองตูมนี้ เป็นชุมชนที่พึ่งตนเอง จึงมีการทำสิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อจะนำมาใช้ในการดำรงชีวิตให้คงอยู่ และดำเนินต่อไป
             ปัจจัยสำคัญสู่ความโดดเด่นของศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจัยที่สำคัญและความโดดเด่นของงานศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน แรก คือ ด้านศิลปวัฒนธรรมซึ่งจะเป็นงานเกี่ยวกับยประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีสงกรานต์ เพราะจะมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และมีการสรงน้ำพระและการทำพิธีบวชนาค ด้านต่อมา คือ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งด้านนี้จะมีความหลากหลายมากเพราะเป็นเรื่องของปากท้องของชาวบ้าน นอกจากปัจจัยเรื่องปากท้องนี้แล้วยังอาจพบปัจจัยอื่นๆแทรกซ้อนเข้ามาด้วย จึงทำให้เกิดความคิดที่จะประดิษฐ์อุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆขึ้น บางครั้ง บางภูมิปัญญาก็ถูกเปลี่ยนแปลงเพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา แต่บางภูมิปัญญาก็ไม่เหลี่ยนแปลง เช่น การสร้างเครื่องมือจับสัตว์ยังไมมีเทคโนโลยีอื่นๆมาแทนได้ และการจักรสานจำพวก กระด้ง ตะกร้า ฯลฯ นั้นเพราะมีการสืบทอดซึ่งเป็นเรืองของคนหมู่มาก และเป็นศิลปะวัฒนธรรมร่วมของคนในชุมชน หรืออาจะรียกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นก็ได้

ความเสื่อมถอยของศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

              ลักษณะหนึ่งที่พบทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรม คือการเสื่อมถอยเลือนลางของศิลปะวัฒนธรรมและศิลปะวัฒนธรรมในชุมชนหนองตูมก็เช่นกัน สามารถพบได้ว่า นอกจากศิลปะวัฒนธรรมด้าน การทำมาหากินแล้ว ในด้านอื่นๆเริ่มจะลบเลือนและเสื่อมถอยลง จะเห็นได้จากศิลปวัฒนธรรมเด้านความเชื่อไม่ค่อยได้รับความสนใจจากวัยรุ่นในชุมชน ทั้งนี้เนื่องมาจากกระแสความเชื่อสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันและเป็นศิลปะวัฒนธรรมที่โดดเด่นกว่า ลักษณะความเสื่อมถอยของศิลปะวัฒนธรรมเสื่อมไปโดย กฎการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หมายความว่า วัฒนธรรมที่ยังคงอยู่ได้จะต้องยังสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน และยังไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าเข้ามาทดแทน ทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนมากจะไม่ค่อยมีใครที่จะสืบทอดงานทางด้านนี้เพราะคนรุ่นใหม่ รวมทั้งวัยรุ่นเขาคิดว่าไม่สำคัญ และคิดว่าเมื่อไปเรียนและฝึกหัดแล้วคงทำได้ช้าหรือทำไม่เป็นเลย เพราะไม่ค่อยชอบทางด้านนี้เท่าไหร่ ซึ่งปัจจุบันงานอย่างอื่นจะเรียนง่ายและน่าสนใจมากว่า

ปัจจัยเสริม สู่ความยั่งยืน ของศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

                ปัจจัยเสริมที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน ทางด้านศิลปะวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นควรจะมีการรวมตัวของกลุ่มคนในชุมชน เพื่อที่จัดตั้งศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นการรวมแนวคิดในการเก็บรักษาและพัฒนาทางด้านศิลปะ